จุดเด่นของหลักสูตร
1. การจัดการเรียนการสอนจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อกลาง
2. อาจารย์ผู้สอนมาจากหลายหลายประเทศ หลากหลายวัฒนธรรม
3. นิสิตจะได้เลือกเรียนภาษาที่ 3
4. นิสิตจะได้เรียนรู้การจัดการธุรกิจทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ การเงิน การลงทุน การตลาด การบริหารจัดการในองค์กรระหว่างประเทศและอื่นๆอีกมากมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ
5. นิสิตจะได้เข้าร่วมกิจกรรมมากมายที่ส่งเริมทักษะทางวิชาการและทักษะการใช้ชีวิต
ปรัชญาของหลักสูตร
หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ มุ่งเน้นการผลิตทรัพยากร
บุคคลให้มีทักษะ ความรู้ ความสามารถ และ ความเชี่ยวชาญ ด้านการบริหารธุรกิจระหว่างประเทศ รวมทั้ง
สนับสนุนและส่งเสริมให้บัณฑิต เป็นบุคคลผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ
ความสำคัญของหลักสูตร
ตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่12 (พ.ศ. 2560-2564) มีหลักการสำคัญคือ “ยึดคน
เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา” มุ่งสร้างคุณภาพชีวิตที่ดีส าหรับคนไทย พัฒนาคนให้มีความเป็นคนที่สมบูรณ์ มีวินัย ใฝ่รู้ มีความรู้ มีทักษะ มีความคิดสร้างสรรค์ มีทัศนคติที่ดี รับผิดชอบต่อสังคม มีคุณธรรมและจริยธรรม ภายใต้วิสัยทัศน์ “มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้คู่คุณธรรม มีคุณภาพชีวิตที่ดี มีความสุขในสังคม” ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 นี้ ได้มีการก าหนดยุทธศาสตร์และวางเป้าหมายที่สามารถตอบสนองการพัฒนาที่ส าคัญในด้านต่างๆ เช่น ยุทธศาสตร์การพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ยุทธศาสตร์ผลิตและพัฒนาก าลังคน การวิจัยและนวัตกรรม รองรับความต้องการของตลาดงานและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศและเทคโนโลยีดิจิทัล ยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพคนทุกช่วงวัยและการสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้ ยุทธศาสตร์พัฒนาระบบบริหารจัดการ และการมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาของทุกภาคส่วน เป็นต้น นอกจากนั้น แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ยังสนับสนุนการผลิตและพัฒนาก าลังคนที่มีการเสริมสร้างคุณภาพผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาให้ได้คุณภาพมาตรฐานระดับสากล สอดคล้องกับความต้องการของภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และภาคธุรกิจด้านการบริการในกลุ่มประเทศ AEC รวมทั้งสอดคล้องกับทิศทางนโยบาย Thailand 4.0 ที่มุ่งเน้นการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัย และ นวัตกรรมให้มีความก้าวหน้าทันต่อการเปลี่ยนแปลงในอนาคตจากแนวคิดตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ดังกล่าวข้างต้น สถาบันการศึกษาจึงควรมีการพัฒนาระบบการศึกษาและพัฒนาความพร้อมของบุคคลากร เพื่อตอบสนองการพัฒนาประเทศและการขยายตัวทางเศรษฐกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ทางวิทยาลัยนานาชาติ จึงได้จัดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศขึ้น เพื่อมุ่งเน้นการพัฒนาและผลิตบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถในการจัดการและบริหารงานธุรกิจระหว่างประเทศ รวมถึงความรู้ความสามารถในการพัฒนาด้านการตลาดทั้งในและต่างประเทศ การจัดการบริหารการเงินและการลงทุนระหว่างประเทศ นอกจากนี้ สาขาวิชาฯ ยังมุ่งเน้นให้บัณฑิต มีความรู้ความสามารถทางด้านกฎหมายธุรกิจ ข้อตกลงทางด้านการค้าระหว่างประเทศ การจัดการพหุวัฒนธรรมและการติดต่อสื่อสารทางธุรกิจ ปัจจัยและโครงสร้างตลาดในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ การพัฒนาบัณฑิตของสาขาวิชาฯ ยังมุ่งเน้นให้มีกิจกรรมที่ส่งเสริมให้นิสิตมีความรู้พื้นฐานทางด้านเทคโนโลยี วิจัย และ นวัตกรรม เพื่อสอดคล้องกับนโยบาย Thailand 4.0 อีกด้วย
ผลการวิเคราะห์ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560-2564) ชี้ให้เห็นว่า
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 เป็นต้นมา กลุ่มประเทศก าลังพัฒนา รวมทั้งประเทศไทย ได้มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างประชากรเป็นสังคมผู้สูงอายุ และจะก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างสมบูรณ์ ในปี พ.ศ. 2564 ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความขาดแคลนแรงงานในประเทศและมีการเคลื่อนย้านแรงงานต่างด้าวเข้าสู่ประเทศไทยมากขึ้น ดังนั้น ความต้องการด้านสินค้าและบริการที่เหมาะสมกับผู้สูงอายุจะเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังมีโอกาสที่จะพัฒนาด้านธุรกิจ การค้าและบริการ ด้านการท่องเที่ยว และการให้บริการผู้สูงอายุในรูปแบบต่างๆ ทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนั้นการจัดตั้งประชาคมอาเซียนยังส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและแลกเปลี่ยนทางด้าน 5 สังคมและวัฒนธรรมระหว่างภูมิภาคอีกด้วย ดังนั้น การจัดการเรียนการสอนสาขาวิชาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ ซึ่งมุ่งเน้นให้บัณฑิตมีการพัฒนาทั้งทางด้านความรู้ ทักษะ ความสามารถทางด้านการจัดการและพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศ จะช่วยสนับสนุนให้ประเทศไทย มีทรัพยากรณ์มนุษย์ที่มีความรู้ ความสามารถ และความพร้อมทางด้านการพัฒนาธุรกิจที่เหมาะสมกับสังคมไทยและภูมิภาคอาเซียนในอนาคต
การพัฒนาหลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้มีกระบวนการเรียนรู้ในรูปแบบการเรียนรู้จากประสบการณ์จริง
(Professional Based Learning) ทั้งนี้จะมีการเรียนการสอนโดยบูรณาการกับการท างานจริง เปิดโอกาสให้นิสิตได้เรียนรู้จากผู้ประกอบการ ซึ่งจะท าให้นิสิตได้พัฒนาทักษะการท างาน ทักษะด้านความรู้และทักษะด้านอารมณ์จุดเด่นของหลักสูตรนี้คือ การผลิตบันฑิตที่มีคุณลักษณะเพื่อสนองตอบต่อจุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดทางธุรกิจ และตอบสนองความจ าเป็นต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและการแข่งขันทางการค้า การลงทุนในอนาคต โดยมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพของบัณฑิตให้มีความรู้ทางการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ รวมไปถึงความสามารถที่จะท างานในองค์กรระดับนานาชาติเพื่อผลิตบัณทิตที่มีความสามารถในการส่งเสริมการเติบโตขององค์กรธุรกิจ ทั้งนี้นิสิตจะต้องมีทักษะที่จ าเป็นในการท างาน ดังนั้นจึงเกิดการปรับปรุงเพิ่มเติมรายวิชาที่จะเสริมสร้างทักษะที่จ าเป็นเหล่านั้นให้แก่นิสิต การเปิดรายวิชาใหม่นี้จะช่วยส่งเสริมให้นิสิตมีทักษะที่หลากหลาย พร้อมสำหรับการทำงานในพื้นฐานของความหลากหลายทางวัฒนธรรมหรือองค์กรณ์ระดับนานาชาติ
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
1 ผู้รับผิดชอบงานฝ่ายธุรกิจต่างประเทศ
2 ผู้วางแผนงานการพัฒนาตลาดในองค์กรระดับประเทศและระหว่างประเทศ
3 ผู้ประกอบการทั้งในระดับชาติและระหว่างชาติ
4 ผู้ดำเนินการธุรกิจน าเข้าและส่งออก
5 ผู้รับผิดชอบทางด้านโลจิสติกส์และห่วงโซ่อุปทาน
6 ผู้ประสานงานทางธุรกิจระหว่างภูมิภาคอาเซียนและภูมิภาคอื่นๆ
7 ผู้ดูแลธุรกิจออนไลน์ระหว่างประเทศ
8 ผู้ดำเนินการจัดการแสดงสินค้าในประเทศและต่างประเทศ
9 ทำงานในองค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน
10 อาชีพอิสระ
ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
1 คุณธรรม จริยธรรม
1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีจริยธรรมและมีวินัยในการทำงานมีความเคารพและปฎิบัติตนได้
อย่างถูกต้องตามกฎระเบียบของสถาบันและ สังคม
1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและ
ล าดับความส าคัญ
1.3 มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน และการ
ปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
1.4 มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดีและมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเป็น
แบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น และมีภาวะผู้นำ
2 ความรู้
2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาการบริหารธุรกิจ
เป็นอย่างดี
2.2 เข้าใจและสนใจพัฒนาความรู้ความช านาญทางการบริหารธุรกิจอย่างต่อเนื่อง
2.3 สามารถบูรณาการและประยุกต์ความรู้ในสาขาวิชากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.4 มีความเข้าใจทางด้านการปฏิบัติงานทางธุรกิจจากการฝึกฝนจากประสบการณ์จริง และจาก
การถ่ายทอดจากผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอก
3. ทักษะทางปัญญา
3.1 สามารถสืบค้น ตีความ และประเมินสารสนเทศ เพื่อใช้ในการแก้ไขปัญหาอย่างสร้างสรรค์
3.2 มีความสามารถในการประยุกต์ความรู้ในศาสตร์การบริหารเข้ากับความสัมพันธ์ทางด้านอื่น
ที่เกี่ยวเนื่อง
3.3 มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์เพื่อหาแนวทางในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และ
เข้าใจถึงผลกระทบจากการตัดสินใจต่างๆ
3.4 สามารถติดตามการดำเนินงาน รวมถึงสามารถประเมินผลการดำเนินงานได้อย่างครบถ้วน
สมบูรณ์
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ
4.1 สามารถปฏิบัติงานต่าง ๆ ตามที่ได้รับมอบหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและมีความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีสามารถปรับตัวในการ
ทำงานตามสถานการณ์ต่างๆและตามวัฒนธรรมองค์กรได้อย่างดี
4.3 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4.4 มีความรับผิดชอบต่อตนเองและกลุ่มสามารถใช้กระบวนการกลุ่มในการแก้ไขปัญหาได้อย่าง
สร้างสรรค์และมีประสิทธิภาพ
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1 มีทักษะทางการใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณ และการแปลความหมาย เพื่อช่วยในการ
ตัดสินใจ และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหา
5.2 สามารถสื่อสารผ่านทางการพูดและการเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ
5.3 สามารถเลือกเลือกรูปแบบในการนำเสนอให้เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่มีความ
แตกต่าง
5.4 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร และการนำเสนอข้อมูลได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ