คณะสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต

Master of Public Health Program


จำนวนรับเข้าศึกษา
10 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
2 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 30,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-967349
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ปรับปรุงพ.ศ. 2565 มุ่งผลิตนักสาธารณสุขที่มีสมรรถนะการทำงานในระบบบริการสุขภาพในศตวรรษที่ 21 ที่สามารถออกแบบการวิจัย เพื่อพัฒนาสุขภาพ (Improving health) ปกป้องสุขภาพ (Protecting health) และให้บริการสุขภาพ (Providing health service) โดยคำนึงถึงปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพ ของประชาชนในพื้นที่ ที่ดูแลรับผิดชอบ และสามารถทำงานร่วมกับภาคส่วนอื่นได้อย่างเหมาะสม เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะ และการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน

ปรัชญาของหลักสูตร
    ปรัชญาของหลักสูตร หลักสูตรดำเนินการจัดการศึกษาตามวิวัฒนาการนิยม (Progressivism) มุ่งให้ความสำคัญกับผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง ปรับตัวและนำความรู้ไปใช้ในสถานการณ์จริงได้ ผู้เรียนมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้สอนที่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ แนวคิดระหว่างกัน โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้เป็นเครื่องมือของการเรียน การสอน ให้ผู้เรียนมีการค้นคว้าด้วยตนเองร่วมกับการอภิปรายกับผู้สอนผ่านประสบการณ์จริงทั้งในและนอกห้องเรียน ให้สอดคล้องกับความหลากหลายของกลุ่มประชากรและวัฒนธรรม ความสำคัญของหลักสูตร หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสุขภาพ การปกป้องสุขภาพ และการจัดบริการสุขภาพให้กับประชาชน ซึ่งการจะพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขนั้น องค์ประกอบหนึ่งที่สำคัญ คือทรัพยากรมนุษย์ด้านสุขภาพที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรู้ ทักษะ สามารถทำงานร่วมกับทีมสุขภาพมีความสามารถในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการทำงานสาธารณสุข และมีความเป็นผู้นำที่มีความสามารถทั้งด้านการบริหาร การนิเทศ และการวิจัยด้านการสาธารณสุขของพื้นที่และประเทศ จากการเปลี่ยนของระบบที่ซับซ้อนทั้งด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และพฤติกรรม การดำเนินชีวิตของประชาชน การสร้างการมีส่วนร่วมทางสุขภาพของทุกภาคส่วนมีความสำคัญการเชื่อมโยงภาคการศึกษากับระบบบริการสาธารณสุขในพื้นที่ เห็นได้ว่าระบบบริการสาธารณสุขต้องการนักวิชาการสาธารณสุขที่มีความกระตือรือร้น (Active) และมีความสามารถในการคิดแก้ปัญหาโดยใช้หลักฐานเชิงประจักษ์อย่างเป็นระบบเท่าทันสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงของสังคม
ความสำคัญของหลักสูตร
    
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    
1.  นักวิชาการสาธารณสุขในภาครัฐและเอกชน ในหน่วยงานสังกัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย
2.  นักวิชาการอิสระ
3.  นักวิจัยทางด้านสุขภาพ
4.  พนักงานในองค์กรด้านสุขภาพ
5.  ผู้บริหารการสาธารณสุขทุกระดับ
6.  นักวิเคราะห์นโยบายและแผนด้านสาธารณสุข
7.  นักวิชาการส่งเสริมสุขภาพ
8.  ที่ปรึกษาด้านสาธารณสุข

ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO 1 สามารถปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขให้แก่ประชาชน ตามจริยธรรมและจรรยาบรรณสำหรับการประกอบวิชาชีพสาธารณสุข

ELO 2 สามารถใช้องค์ความรู้ทางด้านสาธารณสุขในการให้บริการสุขภาพและบริการสาธารณสุข

ELO 3 สามารถสื่อสารและเลือกใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสมในการทำงานร่วมกับทีมสุขภาพและภาคส่วนอื่น ได้แก่ ท้องถิ่น ประชาชน หน่วยงานเอกชน เป็นต้น

ELO 4 ประยุกต์ใช้หลักการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค เพื่อให้บริการสุขภาพ แก่ครอบครัว กลุ่มประชากร และชุมชน

ELO 5 วิเคราะห์ปัญหาสุขภาพที่จำเป็น เพื่อปกป้องสุขภาพ และพัฒนาสุขภาพ และจัดบริการสุขภาพให้กับประชาชน

ELO 6 วิเคราะห์ข้อมูล แปลผลและตีความหมายของข้อมูลด้านสุขภาพ เพื่อนำมาวางแผนแก้ไขปัญหาสุขภาพ

ELO 7 สังเคราะห์ข้อมูลด้านสุขภาพที่ครอบคลุมปัจจัยสังคมกำหนดสุขภาพเพื่อนำมาพัฒนาและจัดการการให้บริการสุขภาพ

ELO 8 สามารถเลือกใช้องค์ความรู้และข้อมูลที่เหมาะสมในการพัฒนาการวิจัยด้านสาธารณสุขเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ ที่ดูแลรับผิดชอบ

ELO 9 ออกแบบการวิจัยทางด้านสาธารณสุข เพื่อแก้ปัญหาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ที่ดูแลรับผิดชอบ