คณะสาธารณสุขศาสตร์

หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรดุษฎีบัณฑิต

Doctor of Public Health Program


จำนวนรับเข้าศึกษา
2 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
3 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 75,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-967349
E-mail: -
จุดเด่นของหลักสูตร
    เป็นหลักสูตรที่เน้นสร้างผู้นำเป็นเลิศทางวิชาการ การวิจัย ด้านสาธารณสุข และสามารถสื่อสารสู่สังคม ได้อย่างสร้างสรรค์ เป็นเหตุเป็นผลเชิงวิชาการ(Smart) โดยสามารถสร้างรูปแบบใหม่ๆ (Model) หรือนวัตกรรม(Innovation) ในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขที่ซับซ้อนและเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา จากการประยุกต์องค์ความรู้ด้านสาธารณสุขและศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ วิจัยอย่างเป็นระบบ ซึ่งจุดเด่นนี้สามารถส่งผลต่อการพัฒนาระบบสาธารณสุขโดยรวมของประเทศ และส่งผลดีต่อคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน นำไปสู่ความเข้มแข็งและศักยภาพแข่งขันเชิงสังคมและเศรษฐกิจของประเทศชาติต่อไป

ปรัชญาของหลักสูตร
    ปรัชญาของหลักสูตร หลักสูตรมุ่งผลิตดุษฎีบัณฑิตให้เป็นผู้นำทางวิชาการสาธารณสุข เชี่ยวชาญด้านการวิจัยขั้นสูง สามารถบูรณาการศาสตร์ และสังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ในการสร้างนวัตกรรมแก้ไขปัญหาสุขภาพ ตามการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ และมีความเชี่ยวชาญทางการบริหารจัดการระบบสุขภาพ ด้วยการมีภาวะผู้นำ กระบวนทัศน์การดูแลสุขภาพการสาธารณสุขแนวใหม่ มีความรอบรู้ คิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพ รวมถึงมีความสามารถด้านการวางแผน สร้างและพัฒนานโยบาย ผลักดันสู่การปฏิบัติด้วยทักษะการสื่อสาร การปรับตัวในการทำงานร่วมกับผู้อื่น ความสำคัญของหลักสูตร เป็นหลักสูตรที่สร้างผู้นำและนักวิจัยที่สามารถบูรณาการองค์ความรู้ทางด้านสาธารณสุขศาสตร์และศาสตร์อื่น นำมาสร้างองค์ความรู้ใหม่หรือนวัตกรรม เพื่อแก้ไขปัญหาสาธารณสุขและพัฒนาระบบสุขภาพ ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงแบบพลวัตด้านเศรษฐกิจ สังคม และด้านสุขภาพระดับประเทศ ระดับโลก นำไปสู่คุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชน
ความสำคัญของหลักสูตร
    
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    
1. อาจารย์ในสถาบันการศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น มหาวิทยาลัย วิทยาลัย ฯลฯ
2. นักวิจัยทางด้านสาธารณสุขในระดับมหภาค 
3. ผู้บริหารสาธารณสุขในหน่วยงานสุขภาพระดับมหภาค
4. นักวางแผนด้านสาธารณสุขในระดับชาติและนานาชาติ
5. ผู้เชี่ยวชาญและที่ปรึกษาทางวิชาการด้านสาธารณสุข
6. นักวิชาการด้านการพัฒนาระบบสุขภาพ สาธารณสุข และส่งเสริมสุขภาพ
 


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1 สร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการ หรือวิทยานิพนธ์ จากการสังเคราะห์ด้วยตนเองได้ ไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่นแบบไม่อ้างอิง

ELO2 แยกแยะหลักการและระเบียบวิธีการวิจัยทางสาธารณสุขศาสตร์ได้ เพื่อเป็นรากฐานความรู้ในการทำวิจัยหรือพัฒนานวัตกรรมในการแก้ไขปัญหาสาธารณสุข พัฒนาแนวปฏิบัติงาน  ในสาขาวิชาชีพสาธารณสุข

ELO3 ประยุกต์องค์ความรู้ด้านสาธารณสุขศาสตร์และศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งความรู้ด้านสาธารณสุขที่ทันสมัย หรืองานวิจัยที่เป็นปัจจุบันทั้งระดับชาติและนานาชาติ เพื่อใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาสาธารณสุขให้ได้รากเหง้าปัญหา 

ELO4 สร้างรูปแบบและแนวทางการแก้ไขปัญหาสาธารณสุขด้วยองค์ความรู้ด้านวิจัยและนวัตกรรม โดยใช้ความเข้าใจอันถ่องแท้ในทฤษฎีและเทคนิค การแสวงหาความรู้ รวมทั้งจากการวิเคราะห์ สังเคราะห์องค์ความรู้ใหม่ด้านสาธารณสุขและงานวิจัย 

ELO5 แสดงความคิดเห็นอย่างเป็นเหตุเป็นผลเชิงวิชาการและสร้างสรรค์ในเวทีวิชาการ วิชาชีพ และสังคม รวมทั้งรับฟังและยอมรับความคิดเห็นผู้อื่นด้วยความเคารพ

ELO6 วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติขั้นสูง และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ เพื่อนำผลการวิเคราะห์ไปประยุกต์แก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่ได้ 

ELO7 เขียนบทความทางวิชาการ ตีพิมพ์เผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์หรือผลการค้นคว้าที่สำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ และเขียนโครงร่างวิจัย เขียนรายงานผลวิทยานิพนธ์ได้

ELO8 นำเสนอหรือสื่อสารข้อมูลสารสนเทศจากผลงานวิชาการ งานวิทยานิพนธ์ในเวทีวิชาการและในสังคมอย่างเป็นเหตุเป็นผลได้ โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัย