คณะวิศวกรรมศาสตร์

หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา

Bachelor of Engineering Program in Civil Engineering


จำนวนรับเข้าศึกษา
80 คน/ปี

ระยะเวลาการศึกษาของหลักสูตร
4 ปี

ค่าธรรมเนียมการศึกษาโดยประมาณ 16,000/ภาคการศึกษา

รายละเอียดหลักสูตร
(Program Spacifications)

ข้อมูลการติดต่อ

โทรศัพท์: 055-964101
E-mail: tatsapornk@nu.ac.th tatsapornk@nu.ac.th
จุดเด่นของหลักสูตร
    เป็นวิชาชีพที่สำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เป็นหลักสูตรพื้นฐาน เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมาแล้วเป็นระยะเวลานาน (รุ่นแรกปี พศ. 2537) มีศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในหลายหน่วยงาน มีสถานประกอบการรองรับการฝึกงานของนิสิต มีความต้องการสมัครเรียนในหลักสูตรนี้เป็นจำนวนมากสม่ำเสมอ ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเลือกทำงานในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือสามารถเป็นผู้ประกอบการด้านวิศวกรรมโยธาได้เอง เมื่อมีความพร้อม จำนวนรับเข้าศึกษา (แผนการรับนิสิตและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี) เป็นวิชาชีพที่สำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ เป็นหลักสูตรพื้นฐาน เปิดสอนในมหาวิทยาลัยมาแล้วเป็นระยะเวลานาน (รุ่นแรกปี พศ. 2537) มีศิษย์เก่าที่ประสบความสำเร็จในหลายหน่วยงาน มีสถานประกอบการรองรับการฝึกงานของนิสิต มีความต้องการสมัครเรียนในหลักสูตรนี้เป็นจำนวนมากสม่ำเสมอ ผู้สำเร็จการศึกษาสามารถเลือกทำงานในหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน หรือสามารถเป็นผู้ประกอบการด้านวิศวกรรมโยธาได้เอง เมื่อมีความพร้อม จำนวนรับเข้าศึกษา (แผนการรับนิสิตและผู้สำเร็จการศึกษาในระยะ 5 ปี)

ปรัชญาของหลักสูตร
    หลักสูตรนี้มีปรัชญาเพื่อบ่มเพาะทักษะขั้นพื้นฐานให้ผู้เรียนผ่านกระบวนการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและค่อยเป็นค่อยไปจนผู้เรียนสามารถพัฒนาตนเอง เรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ พิจารณาตรวจสอบวิเคราะห์ สังเคราะห์ ออกแบบและเสนอวิธีแก้ปัญหาในงานด้านวิศวกรรมโยธา บนพื้นฐานคุณธรรม และจริยธรรมที่ดี มีวิสัยทัศน์ พร้อมที่จะปฏิบัติงานรับใช้สังคมและประเทศชาติสืบไป สมดังปรัชญาความเชื่อที่ว่า “อาคารที่มีฐานรากแข็งแรงย่อมก่อสร้างได้สูง มีประโยชน์ และตั้งอยู่ได้นาน
ความสำคัญของหลักสูตร
     สาขาวิศวกรรมโยธา จัดเป็นสาขาแรกและเป็นสาขาพื้นฐานที่สุดในงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ เป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของประเทศ มีขอบข่ายงานกว้างขวาง อาทิเช่น การก่อสร้าง การดัดแปลง การบูรณะ การรื้อถอน โครงสร้างอาคารที่อยู่อาศัย อาคารสาธารณูปโภคต่างๆ การจัดการและพัฒนาแหล่งน้ำ การวางแผนจราจรและขนส่ง การกำหนดผังเมือง การจัดการขยะมูลฝอย และงานในลักษณะอื่นๆ อีกมากมาย เคยมีผู้กล่าวว่า หากงานใดไม่สามารถจัดให้อยู่ในวิศวกรรมสาขาใดๆ ได้เป็นการเฉพาะ งานนั้นคืองานด้านวิศวกรรมโยธา หลักสูตรด้านวิศวกรรมโยธายังคงมีความสำคัญอยู่เสมอ ตราบเท่าที่มนุษย์ยังคงต้องการที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ของชีวิต
กลุ่มอาชีพเป้าหมายเมื่อจบการศึกษา
    

1. รับราชการในตำแหน่งวิศวกรโยธา ในหน่วยงานภาครัฐ เช่น กรมทางหลวง, กรมโยธาธิการและผังเมือง, กรมยุทธโยธาทหารบก และ กรมชลประทาน เป็นต้น

2. วิศวกรโยธา สังกัดหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย, การรถไฟแห่งประเทศไทย, การเคหะแห่งชาติ และ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นต้น

3. วิศวกรโยธา สังกัดบริษัทเอกชนเกี่ยวกับการก่อสร้างและผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้าง

4. วิศวกรอิสระ เช่น รับสำรวจรังวัด, ออกแบบ, ประมาณราคา หรือเป็นผู้ประกอบการรับเหมาก่อสร้าง เป็นต้น

5. นักวิชาการ ด้านวิศวกรรมโยธา สังกัดหน่วยงานสถานศึกษา หรือหน่วยงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 


ผลลัพธ์การเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร
    

ELO1 สามารถประยุกต์ใช้ความรู้ทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พื้นฐานทางวิศวกรรม และความรู้เฉพาะทางวิศวกรรม เพื่อการแก้ไขและหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน

ELO2 สามารถระบุ ตั้งสมการ วิจัย สืบค้น และวิเคราะห์ปัญหาทางวิศวกรรมที่ชับซ้อน เพื่อให้ได้ข้อสรุปของปัญหาที่มีนัยสำคัญ โดยใช้ หลักการทางคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และวิทยาการทางวิศวกรรมศาสตร์

ELO3 สามารถเลือกวิธีหรือพัฒนาหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน และออกแบบระบบงาน หรือกระบวนการตามความจำเป็นและเหมาะสมกับข้อพิจารณาทางด้านสาธารณสุข ความปลอดภัย วัฒนธรรม สังคม และสิ่งแวดล้อม

ELO4 สามารถดำเนินการสืบค้นเพื่อหาคำตอบของปัญหาทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน โดยใช้ความรู้จากงานวิจัยและวิธีการวิจัย รวมถึง การออกแบบการทดลอง การวิเคราะห์ และการแปลความหมายของข้อมูล การสังเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ผลสรุปที่เชื่อถือได้

ELO5 สามารถสร้าง เลือกใช้ เทคนิควิธี ทรัพยากร และใช้เครื่องมือทันสมัยทางวิศวกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมถึงการพยากรณ์ การทำแบบจำลองของงานทางวิศวกรรมที่ซับซ้อน เข้าใจถึงข้อจำกัดของเครื่องมือต่าง ๆ

ELO6 สามารถใช้เหตุและผลจากหลักการและความรู้ที่ได้รับมาประเมินประเด็นและผลกระทบต่าง ๆ ทางสังคม อนามัย ความปลอดภัย กฎหมาย และวัฒนธรรมที่เกี่ยวพันกับการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรม ทำหน้าที่เป็นพลเมืองดี รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม

ELO7 สามารถอภิปรายผลกระทบของคำตอบของปัญหางานทางวิศวกรรมในบริบทของสังคมและสิ่งแวดล้อม และสามารถแสดงความรู้และความจำเป็นของการพัฒนาที่ยั่งยืน เลือกหรือตัดสินใจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม

ELO8 ปฏิบัติตนภายใต้จรรยาบรรณวิชาชีพด้วยความซื่อสัตย์สุจริต และเสียสละ โดยยึดมั่นคุณธรรมจริยธรรม มีความกตัญญู มีสัมมาคารวะ รู้จักกาลเทศะ  และสามารถใช้หลักการทางจรรยาบรรณและมีสำนึกรับผิดชอบต่อมาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมและความปลอดภัย

ELO9 ทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วินัย มีความรับผิดชอบ มีความมุ่งมั่นและทุ่มเท เพื่อให้งานที่ได้รับมอบหมายประสบความสำเร็จ ทั้งในด้านการทำงานเดี่ยว และการทำงานฐานะผู้ร่วมทีมหรือผู้นำทีมที่มีความหลากหลายของสาขาวิชาชีพและมีความแตกต่างทางวัฒนธรรม

ELO10 สามารถสื่อสารงานวิศวกรรมที่ชับซ้อนกับกลุ่มผู้ปฏิบัติวิชาชีพวิศวกรรมและสังคมโดยรวมได้อย่างมีประสิทธิผล อาทิ สามารถอ่านและเขียนรายงานทางวิศวกรรมและเตรียมเอกสารการออกแบบงานวิศวกรรมได้อย่างมีประสิทธิผล สามารถนำเสนอ สามารถให้และรับคำแนะนำงานได้อย่างชัดเจนทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ

ELO11 สามารถแสดงว่ามีความรู้และความเข้าใจหลักการทางวิศวกรรมและการบริหารงาน และสามารถประยุกต์ใช้หลักการบริหารในงานของตน ในฐานะผู้ร่วมทีมและผู้นำทีมเพื่อบริหารจัดการโครงการวิศวกรรมที่มีสภาพแวดล้อมการทำงานที่มีความหลากหลายสาขาวิชาชีพ สามารถแสดงออกถึงความมีวิสัยทัศน์ด้านการลงทุนและการเป็นผู้ประกอบการ

ELO12 ตระหนักและเห็นความจำเป็นของการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มีการเตรียมตัวเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้โดยลำพังและสามารถเรียนรู้ตลอดชีพเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านเทคโนโลยีและวิศวกรรม